ประวัติความเป็นมา
การจัดการศึกษาผู้ใหญ่ของจังหวัดอุทัยธานีที่ผ่านมา ได้จัดตามรูปแบบ และแนวทางการจัดการศึกษาของรัฐตลอดมา โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และศึกษานิเทศน์ประจำจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของศึกษาธิการจังหวัด ต่อมารัฐบาลได้มองเห็นความจำเป็นอันหนึ่งที่ควรจะมีหน่วยงานรับผิดชอบงานการศึกษาผู้ใหญ่โดยเฉพาะ จึงได้ประกาศจัดตั้งศูนย์การศึกษาประชาชนขึ้น ดังนั้น ศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดอุทัยธานีได้จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 โดยในปีเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ว่าที่ร้อยตรีมนู เหมะ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดอุทัยธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 เป็นต้นมา และต่อมาศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดอุทัยธานีได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน" และในปัจจุบันได้เปลี่ยน "สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี"
การจัดตั้ง
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี ได้ทำพิธีวางศิลากฤษ์อาคาร โดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2522
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 71 ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี
สังกัด
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานส่งเสริมนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
สถานศึกษาในสังกัด 8 แห่ง
1. ศูนย์กศน.อำเภอเมือง
2. ศูนย์กศน.อำเภอหนองขาหย่าง
3. ศูนย์กศน.อำเภอหนองฉาง
4. ศูนย์กศน.อำเภอห้วยคต
5. ศูนย์กศน.อำเภอบ้านไร่
6. ศูนย์กศน.อำเภอลานสัก
7. ศูนย์กศน.อำเภอทัพทัน
8. ศูนย์กศน.อำเภอสว่างอารมณ์
โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ 2 แห่ง
1. โรงเรียนบ้านทุ่งสามแท่ง
2. โรงเรียนบ้านเขาลูกโล่
แหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย 80 แห่ง
1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัด 1 แห่ง
2. ห้องสมุดประชาชนอำเภอ 7 แห่ง
3. พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น 1 แห่ง
4. หอเชิดชูเกียรติปราชญ์เมืองอุทัยธานี 1 แห่ง
5. กศน.ตำบล 70 แห่ง
และกำลังดำเนินการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” 2 แห่ง
1.วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
2.วัดหนองขุนชาติ
วิสัยทัศน์ (Vision)
“คนในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดสังคมการเรียนรู้ มีอาชีพมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความผาสุก”
พันธกิจ (Mission)
1. จัดและส่งเสริมการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ กศน.อำเภอ ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. ส่งเสริม สนับสนุน การนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อการดำเนินงานศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ กศน.อำเภอ ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. ส่งเสริม สนับสนุน การนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อการดำเนินงานศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เป้าหมาย (Goals)
1. คนในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเป็นธรรม
2. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อนำไปสู่พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ภาคืเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
4. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. แหล่งการเรียนรู้มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาเพื่อสนองตอบความต้องการเรียนรู้ของประชาชน
6. หน่วยงานและสถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
7. บุคลากรมีสรรถนะสูงขึ้นในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างมีคุณภาพ
2. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อนำไปสู่พลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ภาคืเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิต
4. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. แหล่งการเรียนรู้มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาเพื่อสนองตอบความต้องการเรียนรู้ของประชาชน
6. หน่วยงานและสถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
7. บุคลากรมีสรรถนะสูงขึ้นในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างมีคุณภาพ